วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ขนมลูกชุบส่งออก


ขนมลูกชุบแบรนด์"สุพัตรา"ฝีมือคนไทยส่งขายต่างแดน


          คมชัดลึก : แม้ครั้งหนึ่งชีวิตของสุระ สูทกวาทินกรรมการผู้จัดการบริษัท รัสมิ์ศรัณย์ จำกัดและประธานชมรมเอสเอ็มอีไทยภูมิปัญญาไทยจะล้มลุกคุกคลานอยู่หลายอาชีพ แต่หลังจากหันมาจับกิจการทำขนมลูกชุบ และขนมไทยภายใต้เครื่องหมายการ "ขนมไทย สุพัตรา" ทำให้กิจการรุ่งเรือง ถึงขนาดทำขนมลูกชุบส่งขายไปยังต่างประเทศได้เกือบ 10 ปีแล้ และทุกวันนี้ แม้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่กิจการขนมไทยของเขายังมีเงินหมุ่นเวียนเดือนกว่า 3 แสนบาท สุระเล่าถึงที่มาก่อนจะทำขนมไทยขายว่าเดิมทีเป็นพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งแต่ลาออกมาจับอาชีพรับเหมาก่อสร้างมูลค่านับสิบล้าน แต่ด้วยการบริหารแบบก้าวกระโดด ทำให้ผิดพลาดในการบริหารด้านการเงินจึงต้องเลิกกิจการ และเข้ามาสู่วงการค้าเพชรค้าพลอยไอศกรีมกระทั่งเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในยุคเศรษฐกิจฟองสบู่แตกในปี 2540 กิจการสะดุดลงแล้วมานั่งทบทวนใหม่ว่าจากนี้ไปควรจะทำอะไรต่อไป " ภรรยาผมคือคุณสุพัตรา ซึ่งเป็นแม่บ้านชอบทำขนมโดยเฉพาะขนมลูกชุบ รสชาติอร่อยบางครั้งมีคนมาสั่งเพื่อไปจัดงานเลี้ยงต่างๆ ผมปรึกษาว่าควรจะทำขนมลูกชุบขายเป็นกิจจะลักษณะโดยให้ภรรยาเป็นคนทำ ผมจะทำการตลาด แต่ตอนนั้นยังมองหาลู่ทางการตลาดไม่ออกว่าจะทำในรูปแบบใดในที่สุดผมกับภรรยาไปสำรวจตลาดเดินตั้งแต่ปากทางลาดพร้าวยันบางกะปิบางแห่งผมต้องยืนนาน 1-2 ชั่วโมง เพื่อสังเกตว่าในแต่ละจุดจะมีคนเดินมากน้อยแค่ไหนวันหลังก็ไปเดินจากสี่แยกราชประสงค์จนถึงถนนวิทยุเลยคิดว่าต้องหาเงินซื้อตรงไหนสักแห่งเพื่อเป็นร้านจำหน่าย แต่ราคาค่อนข้างสูงจึงหยุดคิดไปก่อน" สุระ กล่าว 
การวิเคราะห์  SWOT Analysis
จุดแข็ง (Strength)
   1. มีความรู้ความสามารถเฉพาะตัวในการผลิตขนมไทยได้พัฒนาริเริ่มสร้างสรรค์ของใหม่
       อยู่เรื่อยๆ
   2. ทีมงานเข้มแข็งร่วมกันรับผิดชอบ ไม่ให้เกิดความผิดพลาด
   3. มีฐานลูกค้าเก่าสมัย ที่เป็นคนไทยในประเทศจีนที่ชื่นชอบขนมไทย
   4. มีฐานลูกค้าใหม่ เช่น โรงแรมต่างๆในประเทศจีน
   5. ลูกค้าส่วนใหญ่ให้ความเชื่อถือ เพราะเป็นฝีมือของคนไทยโดยตรง
   6. 
การซื้อวัตถุดิบได้รับเครดิตจากร้านค้
จุดอ่อน (Weakness)
   1. บางครั้งวัตถุดิบ เช่น ใบเตย ใบตอง เก็บไว้ได้ไม่นาน
   2. บรรจุภัณฑ์ ยังไม่ดีพอ
   4. 
การผลิตขนมสดใช้ฝีมือประณีต จึงรับลูกค้าได้จำนวนจำกัด
โอกาส (Opportunost)
   1.มีการออกแบบแพ็คเก็จเหมาะสมกับวาระเทศกาลต่างๆ
   2.ในเทศกาลต่างๆ วันปีใหม่ วันแห่งความรัก วันตรุษจีน และประเพณีปฏิบัติให้ส่วนลด
   3. มีรูปลักษณ์เฉพาะตัว โดยที่ลูกค้าไม่เกี่ยงราคา
   4. 
มีโอกาสหาลูกค้าตลาดบนได้สู
อุปสรรค (Threats)
   1.ผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในประเทศจีน
   2.เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศตอนนี้ไม่แน่นอนการใช้เงินต้องใช้เวลาตัดสินใจนาน
   3. กำลังการซื้อลดลง
   4. ต้องใช้เทคโนโลยีช่วยในการบรรจุภัณฑ์
   5. สินค้าบางอย่างต้องผลิตด้วยมือ ทำให้การผลิตบางครั้งไม่เพียงพอ
   6. มีคู่แข็งในตลาดเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
...ที่มา...

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สภาพภูมิประเทศของประเทศจีน

สาธารณรัฐประชาชนจีน

CHINA


สภาพภูมิประเทศ


สภาพภูมิประเทศ

สภาพภูมิประเทศ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของภาคพื้นทวีปยุโรป หรือทางฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกภูมิประเทศของจีนโดยทั่วไปจะเป็นที่ราบสูงทางทิศตะวันตก แล้วค่อยๆลดต่ำลงมาทางทิศตะวันออกลักษณะภูมิประเทศจะมีลักษณะต่างๆกันตั้งแต่เป็นเทือกเขาสูงเสียดเมฆ จนถึงมาเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีขนาดและรูปร่างต่างๆ กัน อันได้แก่ที่ราบสูงเนินเขาและที่ราบอันกว้างใหญ่และอุดมสมบูรณ์ ทะเลทรายและทุ่งหญ้าอันกว้างใหญ่จะแผ่ปกคลุมแผ่นดินจีนทางตะวันตกเฉียงเหนือขณะที่แม่น้ำลำคลองและปากแม่น้ำฉางเจีย-แยงซี อยู่ทางตะวันออก ถ้ามองจากเบื้องบนลงมา ลักษณะเส้นขอบของภูมิประเทศจีนจะมีลักษณะเหมือนขั้นบันไดสูงจากตะวันตกแล้วลดเป็นขั้นๆมาทางตะวันออกตามลำดับ คือจากที่ราบสูงซิงไฮ-ทิเบตมายังตะวันออกและฝั่งทะเล ขั้นสูงที่สุดของภูมิประเทศ ได้แก่ ที่ราบสูงชิงไฮ-ทิเบต มีเนื้อที่กว้างขวางประมาณ 2.2 ล้านตารางกิโลเมตร

ที่มา  




http://pirun.ku.ac.th/~b4941007/2.htm

www.lks.ac.th/teacher/chiness/chinese_travel/chai01.htm

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศแตกต่างกันอย่างไร

การตลาดระหว่างประเทศ International Marketing
แตกต่างกับ
การค้าระหว่างประเทศ   International Trdde ?



การตลาดระหว่างประเทศ 
 International Marketing




การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing) ได้มีผู้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศในหลายๆ คำจำกัดความดังต่อไปนี้
สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Marketing Association : AMA) ได้ให้คำจำกัดความของการตลาดต่างประเทศ (International Marketing) ไว้ว่า การตลาดระหว่างประเทศเป็นกระบวนการวางแผน กระบวนการจัดแนวความคิด การตั้งราคา การจัดช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาดเพื่อให้สินค้าและบริการสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในนานาประเทศ (Multinational)

นอกจากนี้  ยังมีผู้ให้ความหมายของการตลาดระหว่างประเทศว่า การตลาดระหว่างประเทศคือ ความสามารถในการผสมผสานกิจกรรมทางการตลาดกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระดับโลก

ดังนั้น การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ

 การตลาดระหว่างประเทศ  จึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมากดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price, Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด


การตลาดระหว่าประเทศ  คือ ระยะที่ธุรกิจดำเนินการพัฒนาสู่ตลาดระหว่างประเทศ
ระยะนี้เป็นการพัฒนามาจาก ระยะ Export Marketing ซึ่งเมื่อทำการส่งออกไปได้ ซักระยะ ธุรกิจอาจจะมีความประสบความสำเร็จ แต่เมื่อไปได้อีกสักพัก ธุรกิจอาจจะค้นพบว่า มีอุปสรรคและ ปัญหาต่างๆ ที่ทำให้การทำธุรกิจระหว่างประเทศ ต้องสะดุด เช่น
    -ความต้องการที่แตกต่างกัน ของลุกค้าในตลาดระหว่างประเทศ แต่ละแห่ง
    -ความแตกต่างทางด้านกฎหมายและข้อบังคับในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
    -ความแตกต่างทางด้านอัตราค่าขนส่ง และ อัตราค่าภาษีกรมศุลกากร ของตลาดระหว่างประเทศ
    -ความแตกต่างทางด้านกายภาค และ สภาพแวดล้อมของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง
    -การกีดกันทางการค้า ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง


การค้าระหว่างประเทศ
International Trdde



ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ในระบบเศรษฐกิจแบบเปิด กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศในเรื่องการค้า เศรษฐกิจและการ ดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจจะมีผลต่อรายได้ประชาชาติโดยตรง หน่วยงานสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ ต่างมีส่วนกำหนดให้ระบบเศรษฐกิจไทยมีการพัฒนาโดยการพึ่งพาต่างประเทศกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้แก่ การค้าระหว่างประเทศ การชำระเงินระหว่างประเทศ การลงทุนระหว่างประเทศ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยส่ง

สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่าง ๆ ผลิตสินค้าได้ด้วยต้นทุนไม่เท่ากัน ประเทศที่สามารถผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งด้วยต้นทุนที่ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ประเทศนั้นจะเป็นผู้ผลิตและส่งสินค้าไปขายที่อื่น ๆ เหตุที่ประเทศต่าง ๆ ผลิตสินค้าด้วยต้นทุนที่ต่างกันเพราะว่า มีความแตกต่างในปริมาณและทรัพยากร กล่าวคือ บางประเทศมีแร่ธาตุมาก บางประเทศเป็นแหล่งน้ำมัน บางประเทศมีป่าไม้มาก เป็นต้น ประกอบกับความแตกต่างของสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ ส่งผลให้สินค้าบางชนิดสามารถผลิตได้ในบางพื้นที่เท่านั้น เช่น ยางพาราส่วนมากผลิตในประเทศมาเลเซีย และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก กาแฟส่วนมากมาจากบราซิล เป็นต้น ประเทศที่มีทรัพยากรการผลิตชนิดใดมาก จะได้เปรียบในการผลิตสินค้าซึ่งต้องใช้ทรัพยากรชนิดนั้นเป็นปัจจัยการผลิต เพราะราคาของปัจจัยการผลิตชนิดนั้นจะต่ำ เนื่องจากมีมากเมื่อเทียบกับความต้องการซึ่งมีผลให้ต้นทุนการผลิตตลอดจนราคาขายต่ำไปด้วย ประเทศจึงควรผลิตสินค้าดังกล่าวเพื่อส่งออกและนำเข้าสินค้าที่ขาดแคลน หรือสินค้าที่มีราคาสูงโดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ เช่น ประเทศไทยมีที่ดินมากและสภาพภูมิอากาศเหมาะสมสำหรับเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร เมื่อเทียบกับญี่ปุ่น ดังนั้นไทยควรจะผลิตข้าวหรือสินค้าทางการเกษตรอย่างอื่นเป็นสินค้าส่งออกเพราะต้นทุนต่ำกว่า ในขณะที่ญี่ปุ่นก็ควรผลิตสินค้าประเภททุน เช่น เครื่องจักรเครื่องมือ รถยนต์ เนื่องจากมีที่ดินน้อย แต่มีปัจจัยทุนมาก ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าในญี่ปุ่นต่ำกว่าไทย จึงปรากฏว่า ญี่ปุ่นต้องซื้อข้าวจากไทยและไทยต้องซื้อเครื่องจักรเครื่องมือจากญี่ปุ่น

อย่างไร  ก็ตามความมากน้อยของทรัพยากรตลอดจนปัจจัยการผลิตที่มีอยู่เพียงอย่างเดียวมิใช่เป็นสิ่งที่กำหนดต้นทุนให้ต่ำกว่าประเทศอื่นเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น ความชำนาญของประชากรระดับเทคโนโลยี เป็นต้น จริงอยู่ ไทยและฟิลิปปินส์ต่างก็เป็นประเทศที่มีแรงงานเป็นจำนวนมากและค่าจ้างค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศ แต่มิได้หมายความว่าไทยและฟิลิปปินส์จะมีความได้เปรียบในเรื่องต้นทุนการผลิตเท่ากับญี่ปุ่นหรือสวิตเซอร์แลนด์ เพราะว่า คุณภาพของประชากรในการผลิต ตลอดจนความเจริญทางเทคโนโลยีของประเทศญี่ปุ่นและสวิตเซอร์แลนด์สูงกว่าไทยมาก ทำให้ต้นทุนการผลิตนาฬิกาของญี่ปุ่นหรือ สวิตเซอร์แลนด์ ต่ำกว่าไทย จึงปรากฏว่า ไทยต้องซื้อนาฬิกาจากประเทศเหล่านี้ นั่นหมายถึงว่านอกจากปริมาณของทรัพยากรแล้ว ประสิทธิภาพการผลิตหรือความชำนาญของปัจจัยก็เป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดต้นทุนการผลิตสินค้า

ความแตกต่างดังกล่าวข้างต้น  คือ ความแตกต่างในปริมาณและชนิดของทรัพยากร สภาพภูมิอากาศและความชำนาญในการผลิตประกอบกับความไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทุกชนิดที่ต้องการได้เองภายในประเทศ จึงมีความต้องการแลกเปลี่ยนสินค้าบางอย่างที่ผลิตได้กับสินค้าที่ต้องการแต่ไม่สามารถผลิตได้ภายในประเทศ หรือผลิตได้คุณภาพก็ไม่ดีพอการค้าระหว่างประเทศจึงเกิดขึ้นมาโดยมีหลักการสำคัญคือ ประเทศจะผลิตสินค้าที่ตนเองขาดแคลนหรือผลิตได้แต่ต้องใช้ต้นทุนสูงจากต่างประเทศการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันตามหลักการแบ่งงานกันทำย่อมทำให้การใช้ทรัพยากรของโลกที่มีอยู่อย่างจำกัดมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งเราสามารถพิจารณาจากการค้าขายของบุคคลภายในประเทศ นั่นคือ พ่อบ้านจะไม่ยอมตัดเสื้อเพื่อสวมใส่เอง ถ้าหากเขาสามารถซื้อเสื้อผ้าจากท้องตลาดในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนที่เขาผลิตเอง ในทำนองเดียวกัน ช่างตัดเสื้อย่อมไม่พยายามทำรองเท้าใช้เองแต่จะซื้อรองเท้าใช้จากช่างทำรองเท้า ชาวนาย่อมไม่ตัดเสื้อหรือตัดรองเท้าโดยเขาจะจ้างช่างตัดเสื้อหรือจ้างช่างตัดรองเท้าเมื่อเขาเห็นว่า ราคาที่เขาจ่ายไปต่ำกว่าต้นทุนที่เขาต้องจ่าย เป็นต้น ทุกคนควรจะผลิตสินค้าที่ตัวเองมีความถนัดและชำนาญและนำไปขายหรือแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ตนเองต้องการ จะทำให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นหรือราคาที่ต่ำลง ดังนั้นประเทศก็เช่นเดียวกับบุคคล โดยที่จะได้รับประโยชน์มากขึ้น ถ้าหากประเทศสามารถซื้อสินค้าจากประเทศอื่น ๆ ในราคาต่ำกว่าต้นทุนที่ผลิตได้ภายในประเทศ 
                 
ที่มา